เป็นงานที่มีชื่อเสียงมากชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมสมัยใหม่
เป็นเรื่องที่เขียนได้อย่างมีศิลปะและสะท้อนภาพสังคมในญี่ปุ่น
ก่อนที่จะพบกับความสำเร็จในการพัฒนาพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
เรือโรงงาน |
(พิมพ์ครั้งแรกเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ในชื่อ "เรือนรก")
หนังสือมือสอง : เรือโรงงาน
ผู้เขียน : ทาคิจิ โกบายาชิ
ผู้แปล : วิทยากร เชียงกูล
จำนวน : ๑๕๒ หน้า
ขนาด : ๑๖ หน้ายกธรรมดา
สำนักพิมพ์ : ดาวเรือง
พิมพ์ครั้งที่ : ๓
เดือนปีที่พิมพ์ : สิงหาคม ๒๕๓๑
ทาคิจิ โกบายาชิ เริ่มเขียนนวนิยายเรื่อง เรือโรงงาน เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๑
โดยก่อนหน้านั้นสองปีเขาได้อ่านหนังสือพิมพ์พบเรื่องราวการเอารัดเอาเปรียบคนงาน
อย่างไร้มนุษยธรรมบนเรือโรงงานลำหนึ่ง ซึ่งคนงานเหล่านั้นถูกจ้างไปทำงานบนเรือโรงงานปูกระป๋อง
คนงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดจะถูกลงโทษอย่างหนัก
คนงานหลายคนส่วนหนึ่งยังเป็นเพียงเด็กวัยรุ่น ก็ถูกตี ถูกเหล็กเผาไฟนาบหรือไม่ก็ถูกหย่อนลงทะเล
เมื่อเรือลำนั้นแล่นกลับมาที่ท่าเมืองฮาโกดาเตะ คนงานจึงได้ร้องเรียนต่อทางการ
ถึงความโหดร้ายของกัปตัน ผู้จัดการ และหัวหน้าคนงาน รวมทั้งได้รายงานเรื่องนี้ไปทางหนังสือพิมพ์ด้วย
เป็นผลให้กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
เมื่อทาคิจิอ่านพบเรื่องนี้ เขาได้ชักชวนเพื่อนคนหนึ่งซึ่งกำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับ
"สภาวะความเป็นอยู่ของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม"
ให้ขยายขอบเขตการวิจัยไปศึกษาถึงสภาวะของคนงานในเรือโรงงานทั้งหลายด้วย
ส่วนทาคิจิเองก็เริ่มลงมือศึกษาเตรียมตัวเขียนนิยายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานในเรือโรงงานประเภทนี้
The Factory Ship โดย Takiji Kobayashi |
ทาคิจิได้เตรียมศึกษาค้นคว้าก่อนเขียนเรื่องนี้อย่างมาก
เขาเขียนบรรยายถึงที่ทำงานและสภาพการทำงานของคนงานได้อย่างละอียด
รวมทั้งบรรยากาศที่หดหู่ การกดขี่ภายในเรือโรงงาน
ตัดกับบรรยากาศของทะเลซึ่งบางครั้งก็แปรปรวน บ้างครั้งก็สวยสงัด
***
"งานชิ้นนี้ไม่มีพระเอก ไม่มีตัวละครเด่นๆ
ชนิดที่คุณจะพบได้ในงานที่กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของปัจเจกชน...ผมเชื่อว่า
นี่เป็นครั้งแรกที่ได้มีการพยายามที่จะเขียนเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าวออกมาเป็นเรื่องยาว
มันเป็นงานที่เสี่ยงและยากในทุกแง่มุม"
- ทาคิจิ โกบายาชิ -
"ทาคิจิบรรยายถึงความปั่นป่วนของทะเลคัมชัตสุกะได้อย่างยอดเยี่ยม
ลักษณะของธรรมชาติด้านที่โหดร้าย ปั่นป่วน
ซึ่งขัดแย้งกับภาพแห่งความสงบราบเรียบที่เคยปรากฏในกวีนิพนธ์และนิยาย
ได้ถูกนำมาบรรยายในวรรณกรรมคนงานเป็นครั้งแรก"
- แฟรงค์ โมโตฟูจิ -
"งานของทาคิจิเรื่องนี้มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นเรื่องที่เขียนอย่างเรียบง่าย
ใช้ประโยคสั้น ห้วน เห็นภาพชัด เป็นรูปธรรม...ที่สำคัญเขาเขียนได้อย่างมีศิลปะ
ชวนติดตามและก่อให้เกิดความสะเทือนใจได้อย่างสูง
เนื้อหาของเรื่องเข้มข้นในตัวมันเองอย่างสมจริงสมจัง ไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้น"
- วิทยากร เชียงกูล -