วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

การบริหารด้วยระบบศรัทธาและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

การบริหารด้วยระบบศรัทธา เป็นการบริหารคลาสสิกที่มีมานานในวงการการบริหารระดับสูง
ซึ่งเป็นการบริหารที่มีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดากลยุทธ์การบริหารทั้งหมดที่มนุษยชาติใช้กันอยู่
จึงได้ทำการวิจัยเชิงระบบ เพื่อจัดให้เป็นรูปแบบมาตรฐานที่วงการทั้งหลายจะได้นำไปประยุกต์ใช้

หนังสือมือสอง : การบริหารด้วยระบบศรัทธาและจรรยาบรรณทางธุรกิจ
ผู้เขียน : ไชย ณ พล
จำนวน  : ๒๔๐ หน้า
ขนาด : ๑๖ หน้ายกพิเศษ
สำนักพิมพ์ : B'DA ศูนย์วิจัยและพัฒนาธุรกิจ
พิมพ์ครั้งที่ : -
เดือนปีที่พิมพ์ : -

ในหนังสือมือสองเล่มนี้ ได้นำเสนอควบคู่กับจรรยาบรรณทางธุรกิจ
จากการสำรวจพบว่า องค์กรธุรกิจที่มีความมั่งคั่งและมีความมั่นคงทั้งหลาย
จะมีองค์ประกอบร่วมกันอยู่ประการหนึ่ง คือ มีจรรยาบรรณ ในการประกอบการ
ทั้งระมัดระวังอย่างพิถีพิถันที่จะรักษามาตรฐานไว้ให้สูงส่ง
ด้วย "จรรยาบรรณ" ทำให้ได้รับเครดิต ความเชื่อถือ อภิสิทธิ์ ภาพพจน์ที่ดี
อันนำมาซึ่งชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคง

การบริหารด้วยระบบศรัทธาและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

ในขณะที่บริษัทที่ล้มเหลว หรือประกอบกิจการอย่างล้มลุกคลุกคลาน หรือตั้งมานานแต่ไม่โต
มักมีความบกพร่องทาง "จรรยาบรรณ" เร้นอยู่ในการประกอบการ ในผู้บริหาร
หรือบุคลากรของบริษัท ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงได้ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ว่า...
อะไรบ้างคือจรรยาบรรณที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการก้าวสู่และการรักษาไว้
ซึ่งความมั่งคั่งอย่างมั่นคง และจะพัฒนาจรรยาบรรณเหล่านั้น
ให้เป็นสมบัติขององค์กรและบุคลากรได้อย่างไร

จรรยาบรรณเป็นเรื่องที่ประณีตและมีอำนาจมหาศาล
เป็นสิ่งที่หลายคนรู้อยู่แก่ใจ แต่อาจทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ
เพราะขาดอำนาจในตนเอง และไม่มีกลยุทธ์ที่ดีพอที่จะพัฒนา
หนังสือเล่มนี้จะให้แนวทางในการพัฒนาจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน
ตามหลักการและความเหมาะสม เพื่อความเจริญก้าวหน้าของระบบธุรกิจไทย
ตลอดจนความสำเร็จรุ่งโรจน์ของนักธุรกิจทุกคน
บนพื้นฐานอุดมคติที่ว่า "ถ้าจะมั่งคั่งทั้งที ต้องมั่งคั่งอย่างมั่นคง"

การจะพัฒนาองค์กรให้กอปรด้วยจรรยาบรรณได้นั้น 
ต้องมีองค์ประกอบจำเป็นหลายประการ เช่น
- การนำที่ถูกต้อง
- ปรัชญาองค์กรที่ถูกต้อง
- กลยุทธ์ที่เหมาะสม
- โครงสร้างที่เอื้ออำนวย
- ดุลยอำนาจที่พอดี
- ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน
- ความร่วมรับผิดชอบของทุกฝ่าย
- การฝึกอบรมที่สม่ำเสมอ
- การปรับประยุกต์ใช้เป็นประจำ
- การประเมินผลที่รอบคอบ
- การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ฯลฯ

แล้วองค์กรธุรกิจของท่านเล่า มีจรรยาบรรณอย่างไรบ้าง...

.